วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เรียนรู้ก่อนเป็นเจ้าของธุรกิจ – สร้างเครือข่ายผู้บริโภค


เจ้าของธุรกิจ = พลังเครือข่ายผู้บริโภค

การตลาด (Marketing) หมายถึง การเคลื่อนสินค้าหรือบริการ จากผู้ผลิตไปถึงผู้บริโภค Multi-Level อ้างถึง ระบบในการจ่ายค่าตอบแทนให้กับบุคคลผู้ซึ่งทำให้สินค้าหรือบริการนั้นเคลื่อนตัว Multi หมายถึง มากกว่าหนึ่ง Level หมายถึง ระดับหรือรุ่น คำว่า MLM นั้นแพร่หลายมากเสียจนพวกพีระมิดที่ผิดกฎหมาย และพวกลูกโซ่ต่างๆ ได้พยายามทำตัวเองให้เหมือนกับธุรกิจเครือข่าย ซึ่งการกระทำดังกล่าวสร้างภาพลบอย่างร้ายกาจและไร้เหตุผลให้กับ บริษัทธุรกิจเครือข่ายใหม่ๆ จนกระทั่งเขาเปลี่ยนชื่อใหม่ให้กับแผนการตลาดของเขา เป็น Uni-Level Marketing, Network Marketing หรือ Co-op Mass Marketing และอื่นๆ
มีสามวิธีหลักๆ ในการเคลื่อนสินค้าและบริการ คือ

1. การขายปลีก (Retailing) ทุกคนคงคุ้นเคยกับระบบนี้ดีอยู่แล้ว คุณเดินเข้าไปในร้านของชำ ร้านโชห่วย ร้านขายยา หรือห้างสรรพสินค้า แล้วซื้อสินค้าบางอย่างออกมา ทั้งร้านสะดวกซื้อ อย่างเซเว่น-อีเลฟเว่น (7-11) ห้างร้านดิสเคาน์สโตร์ทั้งหลาย เช่น บิ๊ก-ซี (Big-C) เทสโก้ โลตัส (Tesco Lotus) คาร์ฟูร์ (Carrefour) เป็นต้น

2. การขายตรง (Direct Sales) คือการเคลื่อนสินค้าไปสู่ผู้บริโภค ผ่านทางเทคนิคของการขาย เช่น การไปบ้านลูกค้าเพื่อนำเสนอสินค้า การโทรศัพท์ไปขายของให้กับลูกค้า การขายตรงบางครั้งถือว่าเป็นการขายที่ไม่มีพ่อค้าคนกลาง (เช่น ร้านขายปลีก หรือบริษัทตัวแทนจำหน่าย) ยกตัวอย่าง (แต่ไม่เสมอไป) เช่นการขายประกันชีวิต เครื่องครัว สารานุกรม สาวขายมิสทีน เอว่อน เป็นต้น

3. การตลาดหลายชั้น (Multi-Level Marketing) หรือบางทีเรียกว่า การตลาดเครือข่าย (Network Marketing) คือ สิ่งที่ผมกำลังจะพูดถึงนี้ คุณไม่ควรสับสนระหว่างสองอย่างข้างบน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับการขายตรง คนส่วนใหญ่มักสับสนระหว่างการตลาดเครือข่ายกับการขายตรง

ยังมีการตลาดอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า การสั่งทางไปรษณีย์ การทำการตลาดแบบไปรษณีย์สามารถถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ การขายตรง (Direct sales) ได้ บางคนก็ถือว่าการตลาดทางไปรษณีย์เป็นการตลาดแบบที่ 4

แบบที่ 5 ซึ่งมักถูกเข้าใจสับสนกับ การตลาด เครือข่าย (MLM) ก็คือ แบบพีระมิด คุณอาจะรู้แล้วว่าพีระมิดนั้นผิดกฎหมาย เหตุผลสำคัญที่พีระมิดผิดกฎหมายเพราะว่ามันไม่สามารถเคลื่อนสินค้า หรือบริการไปสู่ผู้บริโภคได้ ถ้าสินค้าไม่เคลื่อนไหว เราจะเรียกมันว่า “การตลาด” ได้อย่างไร? พีระมิดสามารถใช้คำว่า “เครือข่าย” ได้ แต่ไม่สามารถใช้คำว่า “การตลาด” ได้ (คลิ๊กอ่านต่อ กลโกงพีรามิด/ สมาคมการขายตรงไทย)

ความแตกต่างระหว่าง การขายตรงและ การตลาดเครือข่าย

คำว่า “ขาย” เป็นความคิดทางลบในจิตใจคนถึง 95% ในธุรกิจเครือข่ายคุณไม่จำเป็นต้อง “ขาย” ตามความเข้าใจของโลก แต่อย่างไรก็ตาม สินค้าต้องเคลื่อนไหว มิฉะนั้นจะไม่มีใครได้รับเงิน ดอน เฟียล่า ได้นิยามคำว่า ขาย ไว้ว่า “การโทรศัพท์ไปหาคนแปลกหน้า เพื่อขายของบางอย่าง ที่เขาอาจไม่จำเป็นต้องใช้ หรือ ไม่ต้องการ”

การขายตรง (Direct Sales) คือจะเน้น ไปที่การขายสินค้า ทำยอด และกำไรจากการขายปลีก ผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้ ส่วนใหญ่จะต้องเป็นนักขาย ที่มีความสามารถ ผ่านเทคนิคการขายอย่างช่ำชอง อย่างที่บอกมาตอนต้น

การตลาดเครือข่าย (Multi-Level Marketing) ทิศทางจะตรงกันข้ามกับธุรกิจขายตรง โดยการกระจายสินค้าคนละเล็กละน้อย ผ่านเครือข่ายผู้บริโภค (people asset) โดยไม่เน้นให้แต่ละคนต้องทำยอดขายได้เยอะๆ

ธุรกิจเครือข่าย คือ “หุ้นส่วน” ระหว่างนักธุรกิจอิสระและบริษัทเครือข่าย

“ธุรกิจเครือข่าย” ก็เป็นธุรกิจระบบหนึง ที่ใช้กลยุทธ์ทางการตลาด แตกต่างจากธุรกิจขายปลีก-ขายส่งทั่วไป โดยใช้การกระจายสินค้าจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคโดยตรง โดยที่ลดรายจ่ายเรื่องของค่าขนส่ง ค่าโฆษณา พ่อค้าคนกลาง…

ซึ่งรายจ่ายในส่วนนั้น ก็นำมาปันผลให้กับ “นักธุรกิจอิสระ”

ธุรกิจเครือข่ายนั้นอยู่รอบๆ ตัวเรามามากกว่า 40 ปีแล้ว ในประเทศที่เจริญแล้ว เช่น ญี่ปุ่น ก็มีบริษัทที่เปิดดำเนินการในลักษณะของธุรกิจเครือข่ายมากที่สุดในเอเชีย และในสหรัฐอเมริกา ก็ครองแชมป์ ที่มีบริษัทที่ดำเนินการในธุรกิจดังกล่าว มากที่สุดในโลก บริษัทชั้นนำทั่วโลก กำลังหันมานิยมใช้การตลาดระบบเครือข่ายมากขึ้น เพราะการตลาดระบบนี้สามารถกระจายสินค้าเข้าสู่ผู้บริโภค ได้มากและเร็วที่สุด

ธุรกิจเครือข่ายทั่วโลกยังคงมีแนวโน้มการเติบโตสูง แม้ในภาวะเศรษฐกิจซบเซา ธุรกิจเครือข่ายทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ยังคงมีอัตราเติบโต โดยเฉพาะอเมริกาเติบโตถึง 30-40 เปอร์เซนต์ จากปี 2551 ที่ผ่านมา ธุรกิจขายตรงมีมูลค่าถึง 4 ล้านล้านบาท โดยมี นักธุรกิจ อิสระ จำนวน 62 ล้านคนทั่วโลก เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ขณะที่ ธุรกิจเครือข่าย ในไทยมีมูลค่าตลาดรวม 4.7 หมื่นล้านบาท และนักธุรกิจอิสระ หรือ ผู้ซื้อกึ่งผู้ขาย ใช้สินค้าถึง 9 ล้านคน คิดเป็น 15 เปอร์เซนต์ ของจำนวนประชากรทั้งหมด โดยสาเหตุของการขยายตัวมาจากการยอมรับในธุรกิจเครือข่ายมากขึ้น ไม่ได้มองว่าเป็นอาชีพเสริมอีกต่อไป แต่จะมองว่าเป็นอาชีพหลักมากขึ้น (ที่มา: สถิติการเติบโต ของขายตรง /สมาคมการขายตรงไทย)

ด้วยลักษณะของความเป็น “หุ้นส่วน” ระหว่าง นัก ธุรกิจอิสระ และ บริษัทเครือข่าย เป็นไปในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน (Win-Win Business) บริษัทไม่มีความจำเป็นต้องสูญเสียงบประมาณไปกับการโฆษณา จ้างพรีเซนเตอร์ อย่างอั้ม พัชราภา หรือแพนเค้ก ซึ่งดาราดังเหล่านั้นไม่ได้ใช้สินค้าด้วยตัวเอง เพราะนักธุรกิจอิสระเหล่า นี้ จะทำหน้าที่โฆษณาให้ในลักษณะ “การตลาด แบบปากต่อปาก“

แล้วเงินที่บริษัทประหยัดไปหลายล้านบาทนั้นหายไปไหน?

แน่นอนที่สุด บริษัทใช้เงินเหล่านั้น ในการจ่ายเป็นค่าคอมมิชชั่นให้กับ ”นักธุรกิจอิสระ” ตามแผนธุรกิจของแต่ละบริษัท

ต้องการสร้างเครือข่ายผู้บริโภคกับเรา ติดต่อ 086-9106910

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น