ส่วน LDL ย่อมาจากคำว่า Low Density Lipoprotein คือ ไขมันที่ความหนาแน่นต่ำ ถือเป็นไขมันเลว เป็นไขมันที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
วิธีการวัดระดับ LDL ในเลือด ทำได้ 2 วิธี คือ วิธี
คำนวณค่า LDL จากค่าโคเลสเตอรอล, ไตรกลีเซอไรด์และ HDL ในเลือด โดยใช้สูตร
LDL= โคเลสเตอรอล-(ไตรกลีเซอไรด์/5) - HDL ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันอยู่ทั่วไป
ส่วนอีกวิธีหนึ่งเป็นวิธีหาค่า LDLโดยตรงจากเลือด ทำได้บางโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ เท่านั้น
ระดับLDLปกติในคนทั่วไปสูงไม่เกิน 130 มก./ดล. ถ้าระดับLDLในเลือดระหว่าง 130-159 ถือว่าสูงปานกลาง 160-189 ถือว่าสูง ระดับมากกว่า 190 ถือว่า สูงมาก
ผู้ที่มีระดับLDLสูง ส่วนใหญ่เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง ได้แก่
1. อาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก เช่น กะทิ น้ำมันปาล์ม หมู ๓ ชั้น หรือเนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก หนังสัตว์ เนย ไส้กรอก เป็นต้น
2. อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ หอยนางรม เป็นต้น
ผู้ที่มีระดับ โคเลสเตอรอล และ LDLสูงกว่าปกติ จะมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งได้ ดังนั้นจึงควรลดการกินอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอลสูงดัง
กล่าวข้างต้น ให้เปลี่ยนมากินอาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น ข้าว น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว ถั่ว ธัญพืช งา สาหร่าย เห็ด เต้าหู้ วุ้นเส้น และใช้น้ำมันพืช (งดใช้น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์ม)
จำหน่ายน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว โทร.086-9106910
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น